หนังสือผ้าทอร่วมสมัย

     ผ้าทอของไทยถือได้ว่าเป็นงานศิลป์อย่างหนึ่ง เพราะนอกจากที่ทอหรือผลิตมาเพื่อเป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อห่อหุ้มร่างกายแล้ว ยังมีการสร้างสรรค์ลวดลายให้มีความสวยงาม สื่อความหมายแสดงออกทางสัญลักษณ์ ในลวดลายผ้าทอและ อัตลักษณ์ที่แตกต่างกันระหว่างเผ่าพันธุ์ เช่น เครื่องแต่งกายของชาติพันธุ์ไททรงดำ ผ้าทอตีนจกของไทพวน หรือไทยวน นอกจากนี้ยังมีการทอซิ่นมัดหมี่ของไทลาว และไทยอีสานที่มีความคล้ายคลึงแต่ก็แตกต่างกันจนสามารถแยกแยะหรือสร้าง อัตลักษณ์ที่ชัดเจนของชาติพันธุ์ตนเองได้ 

     ในฐานะที่ผู้เขียนได้มีโอกาสทางานวิจัย โครงการสืบค้นข้อมูลและพัฒนาฐานข้อมูลวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับปัจจัยสี่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ด้านเครื่องนุ่งห่มระยะที่ 1 และระยะที่ 2 พร้อมทั้งได้เป็นวิทยากรบรรยายและฝึกอบรมการแปรรูปผ้าทอให้กับกลุ่มชุมชนหรือกลุ่มทอผ้า ทำให้ทราบถึงปัญหาที่ทางกลุ่มประสบ เช่น การขาดความรู้ด้านการออกแบบลวดลายผ้าและแปรรูปผ้าทอที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มเพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่องและมีความร่วมสมัยอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงกลุ่มเดียวแต่เป็นปัญหาที่เกิดกับหลายกลุ่มซึ่งก็รวมไปถึงผู้ประกอบการในหลายจังหวัดด้วย 

     จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการจัดทำหนังสือผ้าทอร่วมสมัยเพื่อต้องการนำความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับผ้าทอ ผ้าชาติพันธุ์ต่าง ๆ ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ตลอดจนแนวความคิด และวิธีการในการออกแบบลวดลาย การทอผ้า สี่ตะกอ และรวมถึงแปรรูปผ้าทอเป็นกระเป๋า โดยใช้กระบวนการเทคนิคแนวคิด ต่าง ๆ ได้แก่องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของการออกแบบและแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มาปรับใช้ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ต่อยอดทางธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสู่ชุมชน  

คลิกที่นี่เพื่ออ่านหนังสือ